ดิน คือ ธรรมชาติบนพื้นผิวโลก เป็นตัวช่วยในการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากดินประกอบไปด้วยแร่ธาตุและสารต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่คอยค้ำจุนความเป็นไปของโลก การอนุรักษ์และพัฒนาดิน มีความจำเป็นเพื่อที่จะทำให้ดินเกิดความอุดมสมบูรณ์ เพราะ ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน การเกษตร การปศุสัตว์ การป่าไม้ การใช้ดินอย่างถูกวิธีจึงเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
สาเหตุหลักของการทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์
1. การถากพืชที่ปกคลุมหน้าดิน
2. เผาพืชหรือไร่นาในพื้นที่ ซึ่งทำให้สูญเสียแร่ธาตุ และ ความอุดมสมบูรณ์ไป
3. ปลูกพืชชนิดเดียวกันตลอดเป็นเวลา
4. ขาดความรู้เรื่องการใช้ดินและปุ๋ยอย่างถูกต้อง
วิธีการในการอนุรักษ์ดิน
1. การปลูกพืชคลุมดิน เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่ว หรือ พืชที่มีใบแน่นหนา เพื่อช่วยยึดดิน และ เพิ่มธาตุไนโตเจนให้กับพื้นดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งยังช่วยเพิ่มการอุ้มน้ำและระบายน้ำให้ดียิ่งขึ้น
2. การปลูกพืชหมุนเวียน เช่น การปลูกพืชมากกว่า 2 ชนิดบนพื้นที่บริเวณนั้น โดยคำนึงถึงตัวพืชที่มีความต้องการแร่ธาตุต่างกัน อย่างเช่น การปลูกข้าวโพดในการเจริญเติบโตนั้นจำเป็นที่ต้องใช้แร่ธาตุไนโตเจนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นถ้าหากเราปลูกข้าวโพดหลังจากปลูกถั่วเนื่องจากถั่วไม่ได้ดูดกลืนแร่ธาตุไนโตเจนจากดินทั้งยังให้แร่ธาตุไนโตเจนแก่ดินอีกด้วย เราก็จะได้ข้าวโพดที่ดี มีคุณภาพ
3. การปรับปรุงดิน เป็นการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวด้วยวิธี “การแกล้งดิน” (วิธีการจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช)
4. การปลูกพืชแบบวนเกษตร หรือไร่นาสวนผสม มีรูปแบบในการทำ 3 รูปแบบ คือ การปลูกไม้ยืนต้น ควบคู่กับพืชเกษตร , การปลูกไม้ยืนต้นควบคู่กับพืชอาหารสัตว์ และการปลูกไม้ยืนต้น ควบคู่กับพืชเกษตรและอาหารสัตว์
5. การปลูกพืชแบบขั้นบันได เป็นวิธีสำหรับการอนุรักษ์ดินที่มีลักษณะเป็นเนิน
6. การป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ได้จากการเติมปุ๋ย และบำรุงรักษาดิน
7. ปลูกป่า ป่าไม้จะช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี และยังช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล
8. การปลูกพืชสลับแถวเป็นการปลูกพืชชนิดละแถว โดยการแบ่งเป็นแถวละชนิดๆ แบ่งเป็นแถบๆ และหมุนเวียนเป็นระบบ